วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคโนโลยีการสื่อสาร

เทคโนโลยี 3G คืออะไร
                             หากกล่าวถึงเทคโนโลยี 3G ที่ใช้บนมือถือ หลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินผ่านหูมาไม่มากก็น้อย ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี 3G เริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ เปิดตัวมาพร้อมฟังก์ชั่นรอง รับการใช้งาน 3G ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โทรศัพท์มือถือของ Apple หรือ iPhone นั่นเอง โดยก่อนที่จะมาเป็นยุค 3G เครือข่ายโทรศัพท์มือถือมีวิวัฒนาการดังนี้



1. ยุคแรก (First Generation: 1G)
                              นับว่าเป็นยุคบุกเบิกของการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ว่าได้ โดยเครือข่ายจะใช้การรับส่งสัญญาณเป็นแบบอนาล็อก (Analog) เริ่มมีการใช้งานเมื่อปีพ.ศ. 2523 - 2533 โทรศัพท์ในยุคนี้จะมีขนาดใหญ่จนเกือบเท่ากับกระเป๋าเอกสาร ทำให้ไม่สะดวกที่จะ พกพาไปไหน อีกทั้งราคาก็ยังสูงมากด้วย และการใช้งานนั้นสามารถใช้ได้เพียงการโทรออก-รับสายเท่านั้น

2. ยุคที่สอง (Second Generation: 2G)
                               ในยุคที่สองของการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ได้มีการพัฒนาเครือข่ายจากเดิมที่ใช้ระบบอนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอล (Digital) ทำให้สามารถส่งข้อความสั้น (Short Message Service: SMS) ได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลของ เทคโนโลยี 2G อยู่ที่ 10 กิโลบิตต่อวินาที หรือเทียบจากการดาวน์โหลดเพลง MP3ความยาว 3 นาที ก็จะใช้เวลาดาวน์โหลด ทั้งหมด30-40 นาที ในยุคของ 2G จะจำแนกเครือข่ายออกเป็น 2 ระบบคือ
ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ในทวีปยุโรป และเอเชีย ซึ่งมีความสามารถในการใช้โทรข้ามเครือข่าย (Roaming) ได้
ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นระบบที่ใช้ในประเทศอเมริกาและเกาหลีใต้ ซึ่งระบบนี้ไม่สามารถที่จะใช้โทรข้ามเครือข่ายได้ แต่จะมีคุณภาพของสัญญาณเสียงและข้อมูลที่ดีกว่า

3. โทรศัพท์มือถือยุคที่ 2.5 (2.5 Generation: 2.5G)
                                 ยุคของ 2.5G นั้นได้พัฒนาด้านการรับ-ส่งข้อมูลให้มีความเร็วมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีที่เรียกกันว่าGPRS และ EDGE เข้ามาใช้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้เล่นอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งยังใช้ Application ที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตในการใช้งาน อาทิ เช็คอีเมล Web Browsing แผนที่และระบบนำทาง GPS การใช้งานStreaming แบบ real-time ซึ่งหากเทียบความเร็วของการดาวน์โหลดของเครือข่าย 2.5G จากการดาวน์โหลดไฟล์MP3 ความยาว 3 นาที จะใช้เวลาดาวน์โหลดประมาณ 6-10 นาที โดยการใช้งาน EDGE/GPRS ต้องทำการ Connectและ Disconnect ทุกครั้ง เนื่องจากระบบจะคิดค่าใช้จ่ายจากระยะเวลาที่เริ่มการติดต่อ จนกระทั่งยกเลิกการติดต่อ  

4. ยุคที่สาม (Third Generation: 3G)
                                  ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาโครงข่าย (Network) จากเดิมที่เป็น Circuit Switching Network เป็นระบบ Packet Switching Network ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้สามารถเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตด้วยสัญญาณที่ดีขึ้น การรับ-ส่งข้อมูลจึงสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น (เมกกะบิตต่อวินาที) จึงสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Multimedia ได้อย่างสบายๆ การเชื่อมต่อ Network ของยุค 3G จะเป็นแบบ Always on ซึ่งสามารถเปิดระบบได้ตลอดเวลา (ต่างจาก 2.5G ที่ต้องทำการยกเลิกการติดต่อทุกครั้ง) ระบบจะคิดค่าจ่ายต่อเมื่อมีการรับ-ส่งข้อมูลเกิดขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างความสามารถของมือถือในยุคนี้ เช่น โทรศัพท์มือถือที่สามารถคุยวิดีโอได้ (VDO Phone) ซิมเบอร์เดียวเชื่อมต่อทั้งโลก (Global Roamingสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็ปไซต์ www.globalroaming.mobi) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง (Hi-speed web)การระบุตำแหน่งและแผนที่นำทาง (Navigations/Maps) การประชุมผ่านวิดีโอ (VDO Conference) การดูโทรทัศน์แบบเลือกรานการได้ (TV on demand) หรือการเรียนรู้ผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น เมื่อเทียบความเร็วในการดาวน์โหลดของโทรศัพท์ในยุคนี้จากการดาวน์โหลดไฟล์ MP3 ความยาว 3 นาที จะใช้เวลาดาวน์โหลดเพียง 10วินาที ถึง 1 นาทีเท่านั้น
ในปัจจุบันได้มีการแบ่งมาตรฐานของ 3G ออกเป็น 2 ระบบ คือ
ระบบ WCDMA (Wideband Code Multiple Access) ซึ่งพัฒนามาจากระบบ GSM -> GPRS ->EDGE -> WCDMA
ระบบ CDMA2000 1x EV-DV พัฒนามาจากระบบ CDMA One -> CDMA2000 1x ->CDMA2000 1x EV-DO และCDMA2000 1x EV-DV (Evolution Paths)
Cellular Evolution Paths 2G to 3G

5. โทรศัพท์มือถือยุคที่ 4
                                   ในยุคนี้ยังคงอยู่ในขั้นพัฒนาด้านความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งสามารถทำความเร็วได้ถึงระดับพันล้านบิตต่อวินาที ทำให้รองรับการระบบ Multimedia ในแบบ 3 มิติ (3D) ได้ราบรื่นการกระจายสัญญาณทีวีที่ให้รายละเอียดสูง ในระดับ HDTV (High Definition Television) และระบบความปลอดภัยจากการใช้งานมากขึ้น ทาง I.T.U. (International Telecommunication Union) ตั้งเป้าว่าน่าจะมีการเริ่มใช้บริการได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (ขณะนี้ในประเทศอังกฤษกำลังทดสอบระบบ 4Gแต่คาดว่าจะใช้ได้ประมาณปี พ.ศ.2555) ส่วนมาตรฐานยังไม่มีการกำหนดรายละเอียดที่แน่นอน แต่โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นแบบ Packet Switching Network รวมทั้งการใช้ IPV6 (Internet Protocol Version 6) มาแทน IPV/4 ที่กำลังใช้ในปัจจุบัน (IPV4 Address ใกล้หมดแล้ว)





ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยี 3G
ข้อดี
        ช่วยทำให้การ Online ทุกที่ทุกเวลาด้วยระดับคุณภาพบริการ Hi-speed เป็นไปได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้นด้วยข้อดีของบริการดังนี้

1. มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับเครือข่าย 3
G ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องโทรศัพท์ (Always On)
2. การคิดค่าบริการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น แตกต่างกับระบบทั่วไปที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่ Login เข้าในระบบเครือข่าย
3. อุปกรณ์สื่อสารไร้สายมีรูปแบบอื่นๆ Plamtop, PDA, Laptop และ PC
4. รับส่งข้อมูลในความเร็วสูงรวดเร็ว ทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก แสดงแผนที่ตั้ง เป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด

ข้อเสีย

        เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มาก มีบุคคลทุกเพศทุกวัย แทบทุกอาชีพที่ใช้งาน ข้อมูลที่สามารถใช้ได้กับบุคคลวัยหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมกับบุคคลอีกวัยหนึ่ง โดยเฉพาะเด็ก เช่น สื่อลามกอนาจร การพนันออนไลน์ เป็นต้น 


วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม


เนื้อหาประจำวิชาคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม


บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหรรม
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูลและเครอข่าย
บทที่ 4 ระบบประมวลผล
บทที่ 5 เครื่องจักกลNC
บทที่ 6 หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
บทที่ 7 ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 8 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
บทที่ 9 PLC/PC 
บทที่ 10 คอมพิวเตอร์กับการผลิต
Image result for คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นาย เรืองศักดิ์  ใหม่แก้ว  ชื่อเล่น เอ็ม
วัน/เดือน/ปีเกิด 27/03/2539
บ้านเลขที่ 105/1 ม.6 อ.จะนะ จ.สงขลา
เบอร์โทรศัพท์ 0936096018
รหัสนักศึกษา 606705070
จบมาจาก วิทยาลัยเทคนิคจะนะ
สาขา เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
มาศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โปรแกรมวิชา อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
สาขา เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

สมาชิกการจัดการ

สมาชิกในชั้นเรียน   อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค  อาจารย์ปาล์ม 1. เกียรติศักดิ์ เกตุอักษร ไฟล์ 2. นายจรณะ แท่งทอง เปา 3. นางสาวเฉลิมพร ศร...